การประกันคุณภาพการศึกษา (Educational Quality Assurance ) หมายถึงการสร้างมาตรฐานคุณภาพการบริการจัดการของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาทั้งที่เป็นผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
การประกันคุณภาพภายใน ( Internal Quality Assurance ) หมายถึง การประเมินและการติดตามตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก ( Externat Quality Assurance ) หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ) บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองเพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
***************************************************************************************************
ระบบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance System) หมายถึง ระบบที่ก่อให้เกิด ผลดี ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ในวงการศึกษาได้ดัดแปลง ระบบการประกันคุณภาพมาใช้เพื่อประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เช่น
- ระบบ ISO (International Standardization and Organization) เป็นมาตรฐาน ระบบคุณภาพที่มีการเน้นในหลักการ เป้าหมายและจุดประสงค์ สามารถใช้เป็นเครื่องมือใน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต หรืองานบริการที่รวมการประกันคุณภาพและการ ควบคุมคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ของผู้บริการเป็นไปตามความต้องการ ทางคุณภาพของลูกค้า
- ระบบ TQM (Total Quality Management) เป็นระบบที่ปรับปรุงการวางแผน การจัด องค์กร และทำความเข้าใจในกิจกรรมที่เกี่ยวกับแต่ละบุคคลในแต่ละระดับเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพ ให้มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถแข่งขันได้ประสิทธิภาพของการจัดองค์กรใน ระบบนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของทุกคนในการนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย
- ระบบ The Malcom-Baldrige National Quality Award เป็นแนวทางการตรวจสอบ คุณภาพองค์กรซึ่งแนวทางนี้อาจนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพขององค์กรทางด้านการ
ศึกษา มีองประกอบ 7 ด้าน คือ
1. การเป็นผู้นำ
2. สารสนเทศและการวิเคราะห์
3. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์
4. การพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. การบริหารกระบวนการผลิตบัณฑิต วิจัย และบริการวิชาการ
6. สัมฤทธิ์ผลทางวิชาการ
7. สัมฤทธิ์ผลในการผลิตบัณฑิต
- ระบบ CIPP (Context, Input, Process, Product) หมายถึง ระบบที่ใช้ในการประเมินตามด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านการดำเนินการ และด้านการผลิต
- ระบบ 5 ส เป็นระบบพื้นฐานประกอบด้วย สะสาง คือการค้นหาและกำจัดสิ่งที่ไม่ จำเป็น สะดวก คือให้จัดระเบียบเรียบร้อย ง่ายต่อการใช้งาน สะอาด คือ ทำความสะอาด อย่างละเอียดทั่วถึง สุขลักษณะ คือ รักษาสุขภาพอนามัยให้ถูกสุขลักษณะและรักษา มาตรฐาน สร้างนิสัย คือสร้างนิสัย/วินัยและปฏิบัติให้เกิดความเคยชินสม่ำเสมอ
- ระบบ SBM (School Based Management) หมายถึง การบริการจัดการที่สถาน ศึกษามีอำนาจอิสระในการดำเนินงาน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับและ ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นไปตามความต้องการและจำเป็นของสถานศึกษาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของสถานศึกระบบประกันคุณภาพของแต่ละสถานศึกษาที่กำหนดขึ้นอาจจะผสมผสานวิธีการต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ปัจจัยผลผลิต (Output) ผลสัมฤทธิ์ (Outcome)
*************************************************************************************************
ตัวบ่งชี้ (Indicator) หมายถึง ตัวประกอบ ตัวแปร หรือค่าที่สังเกตได้ ซึ่งบ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานที่สามารถวัดและสังเกตได้ เพื่อบอกสภาพทั้งทางเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการ ในภาษาไทยมีที่ใช้อยู่หลายคำ เช่น ตัวชี้วัด ดัชนี ซึ่งตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพฯ ภายนอกรอบสามจะประกอบด้วยตัวบ่งชี้ สามกลุ่มดังนี้
ตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจหลักของสถานศึกษาบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดีและมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน
ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยมีการกำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันเพื่อชี้แนะ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและสภาพปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้นำสังคมและแก้ไขปัญหาสังคมของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน
ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง ตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษาโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและสังกัด
*************************************************************************************************
การประเมินคุณภาพภายใน ( Internal Quality Assessment)
หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนดสำหรับการประกันคุณภาพภายในซึ่งกระทำ โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้น หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก ( External Quality Assessment)
หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตามและการตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาซึ่งกระทำ โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) หรือผู้ประเมินภายนอก
การประเมินแบบกัลยาณมิตร (Amicable Assessment)
หมายถึง การประเมินคุณภาพตามปรัชญาและแนวปฏิบัติการประเมิน เพื่อเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพที่เป็นกระบวนการสัมพันธ์เชื่อมโยงของสรรพสิ่ง และถักทอความร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษา ให้เข้าใจและเข้าถึงความจริงเชิงคุณค่าแบบองค์รวมด้วยความเป็นกลาง โดยใช้หลักกัลยาณมิตรธรรมเป็นพื้นฐานในการประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่1 ส่งเสริมและพัฒนา ขั้นที่ 2 สร้างความศรัทธาต่อผู้ประเมิน ขั้นที่ 3 เพียรประเมินอย่างกัลยาณมิตร และขั้นที่ 4 ชี้ทิศทางและเสริมแรงพัฒนา
ในส่วนของการประเมินอย่างกัลยาณมิตร ผู้ประเมินพึงใช้หลักธรรมเพื่อสร้างความศรัทธา ความไว้วางใจและความเป็นมิตร ตามกัลยาณมิตรธรรม 7 1 ดังนี้
1 ปิโย : น่ารัก เป็นที่สบายใจ และสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าปรึกษาไต่ถาม
2 ครุ : น่าเคารพ ประพฤติตนสมควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งและรู้สึกปลอดภัย
3 ภาวนีโย : น่ายกย่อง มีความรู้และภูปัญญาแท้จริง เป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
4 วตฺตาจ : รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าว ตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5 วจนกฺขโม : อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม คำเสนอแนะ วิพากษ์ วิจารณ์ อดทนฟังได้ ไม่เบื่อ ไม่แสดงอารมณ์ฉุนเฉียว
6 คมฺภีรญจ กถํ กตฺตา : สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้
7 โน จฏฐาเน นิโยชเย : ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย
*****************************************************************************************
ผู้ประเมินภายนอก ( External Assessor)
หมายถึง บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับต่างๆตามคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่ สมศ. กำหนดโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
ผู้ประเมินภายใน ( Internal Assessor)
หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถานศึกษาหรือต้นสังกัดให้ทำการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ผู้ประเมินอภิมาน (Meta Evaluator)
หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและได้รับการรับรองจากหน่วยประเมินและ สมศ. ให้ทำการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบ รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งแบ่งออกเป็น
- ผู้ประเมินอภิมานภายใน ( Internal Meta Evaluator )
หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและได้รับการรับรองจากหน่วยประเมินให้ทำการพิจารณา กลั่นกรองและให้รับรองรายงาน การประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ผู้ประเมินอภิมานภารนอก (External Meta Evaluator )
หมายถึง บุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและได้รับรองจาก สมศ. ให้ทำการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบและให้การรับรองรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาทุกระดับ ตามมาตรฐานรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกที่ สมศ. กำหนด
*****************************************************************************************
ผู้มีความสามารถพิเศษ (Gifted Student)
หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนผู้เข้าศึกษาตามหลักสูตรปรกติแต่มีความสามารถเป็นพิเศษในด้านสติปัญญา ความรู้ความสามารถ หรือคุณสมบัติอื่นใดที่สะท้อนความเป็นผู้มีความสามารถพิเศษตามที่หลักสูตรนั้นๆ กำหนด
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
หมายถึง กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ หรืออาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินการและความสำเร็จของสถาบัน เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง สมาคมผู้ปกครอง ผู้ปฏิบัติงาน คู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คณะกรรมการกำกับดูแลสถาบันในด้านต่างๆ ศิษย์เก่า นายจ้าง สถาบันการศึกษาอื่นๆองค์การที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบ องค์การที่ให้เงินสนับสนุน ผู้เสียภาษี ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ส่งมอบ ตลอดจนชุมชนในท้องถิ่นและชุมชนในท้องถิ่นและชุมชนวิชาการหรือวิชาชีพ
****************************************************************************************
บทบาทของหน่วยงานที่รับการประเมินคุณภาพภายใน
เตรียมการก่อนการตรวจเยี่ยม
1.จัดทำ SAR ของหน่วยงาน
2.ส่งให้คณะผู้ประเมิน 2 สัปดาห์ (ก่อนการตรวจเยี่ยม)
3.แจ้งรายชื่อผู้ประสานงาน
4.ประสานงาน
การเตรียมเอกสารสำหรับการประเมิน
-ข้อมูลที่นำเสนอควรเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
- หมายเลขเอกสารต้องตรงกัน
- ควรบ่งชี้เพื่อให้หาง่าย
- เอกสารแผ่นปลิวจะต้องจัดไว้ให้เรียบร้อย
- จัด Computer เพื่อดูข้อมูลทาง IT
- ในกรณีที่เอกสารอยู่ในพื้นที่จะต้องบ่งชี้
การเตรียมบุคลากร
- สร้างความเข้าใจ (ฝึกอบรมชี้แจง)
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเมินคุณภาพ
- ทำความเข้าใจในภารกิจของหน่วยงาน
- ให้ซักถาม อภิปราย
- เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เตรียมผู้ที่ทำหน้าที่ประสานงาน
- ทำความเข้าใจทุกกิจกรรม
- เข้าใจภาระหน่วยงาน
- มีข้อมูลของผู้ประเมิน
- ประสานงานล่วงหน้า
- อำนวยความสะดวก/แก้ไขปัญหา
- จัดเตรียมสถานที่ทำงานให้คณะประเมิน
การดำเนินการระหว่างการตรวจเยี่ยม
- ให้บุคลากรได้เข้าฟังการชี้แจงของคณะผู้ประเมิน
- ปฏิบัติงานตามปกติ แต่เตรียมพร้อมสำหนับการเยี่ยมชม
- จัดผู้ประสานงานตลอดเวลาที่ผู้ประเมินดำเนินการ
- ให้โอกาสในการรับฟ้งข้อมูลป้อนกลับจากผู้ประเมิน
การดำเนินการหลังการตรวจเยี่ยม
- นำผลการประเมินเข้าที่ประชุมแจ้งบุคลากรทุกระดับ
- หาแนวทางส่งเสริม/พัฒนาจุดแข็ง/จุดที่ควรปรับปรุง
- กำหนดผู้รับผิดชอบ
- ทำ PDCA
******************************************************************************************